|
วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา อินเดีย |
วันนี้ก็ยังคงอยู่ในวันที่ 2 ของการเดินทาง 8 วันไปแสวงบุญ 4 สังเวชนียสถาน ตามรอยพระพุทธเจ้าที่ประเทศอินเดียและประเทศเนปาล จากตอนที่แล้วที่เราออกจากพุทธคยาสักการะต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับในคืนตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าและได้ไปชมวัดไทยพุทธคยา ซึ่งเป็นวัดไทยแห่งแรกที่มาสร้างในประเทศอินเดีย เราออกจากวัดไทยพุทธคยาก็เดินทางเข้าพักที่วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนากันเลย
|
วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา อินเดีย |
วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา ตั้งอยู่ไม่ไกลจากมหาเจดีย์พุทธคยา อยู่ในเขตการปกครองของรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นวัดของคนไทยที่บริหารโดยพระสงฆ์ชาวไทย มีวัตถุประสงค์สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกไว้รับรองบริการทั้งที่พักและอาหารแก่คณะสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาชาวไทยที่เดินทางไปจาริกแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย โดยเฉพาะผู้ที่ตั้งใจไปสักการะเจดีย์พุทธคยาอันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
|
อาหารมื้อเย็น(ค่ำ)ที่วัดไทยมคธวิปัสสนา |
คณะของเราไปถึงวัดไทยมคธวิปัสสนาก็มืดพอดี ทางโรงครัวเขาก็เตรียมอาหารไว้รับรองเรียบร้อยแล้วจากการที่คณะของเราได้แจ้งความประสงค์ไว้ล่วงหน้าก่อนเดินทางมาอินเดีย จึงสะดวกสบายมาก ไปถึงก็ได้กินอาหารไทยฝีมือแม่ครัวชาวไทยอร่อยๆ ดังนั้นคณะที่ไปด้วยกันจึงไม่มีใครเดือดร้อนเรื่องอาหารการกิน
|
อาหารเย็นที่คณะเราเลือกรับประทาน ที่วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา |
ที่ประเทศอินเดียส่วนใหญ่คนอินเดียจะทานมังสวิรัติไม่กินเนื้อสัตว์ จึงค่อนข้างหาร้านอาหารที่มีเนื้อสัตว์ยาก แต่ไม่ใช่ไม่มีเลยทีเดียวก็ยังพอหารับประทานได้บ้าง ดังนั้นอาหารหลักๆ จะเน้นเมนูผักกับไข่และนม มีเนื้อสัตว์ให้ทานบ้างแต่ไม่ทุกมื้อ มื้อนี้ของเราเป็นแกงส้ม ผัดผัก และไข่เจียว ถึงแม้จะเป็นอาหารง่ายๆ แต่ปรุงโดยคนไทย รสชาติแบบไทยยังไงก็อร่อยถูกปากคนไทย
|
ส่วนของห้องรับประทานอาหาร และที่พักที่มีไว้ต้อนรับนักเดินทางชาวไทย |
หลังจากอิ่มกับอาหารเย็นกันเรียบร้อย หัวหน้าคณะนำเที่ยวก็นัดแนะถึงวันเวลาที่จะเดินทางกันต่อในวันพรุ่งนี้ ซึ่งเราจะไปขึ้นเขาคิชกูฏและไปดูมหาวิทยาลัยนาลันทามหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก จากนั้นเราก็แยกย้ายกันเข้าห้องพักที่ทางวัดไทยมคธพุทธวิปัสสนาเตรียมไว้ให้
|
ห้องพักในวัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา |
ภายในห้องพักของวัดไทยมคธวิปัสสนา ประเทศอินเดีย ก็ถือว่ากว้างขวางและสะอาดมาก พักที่วัดแห่งนี้ได้ทานอาหารอร่อย นอนสบาย ปกติจะมีนักแสวงบุญชาวไทยทั้งพระสงฆ์และฆราวาสมาใช้บริการกันเยอะมาก สังเกตุได้จากห้องพักที่มีหลายสิบห้อง แต่เนื่องจากคณะเรามาเกือบเป็นสัปดาห์สุดท้ายของฤดูการทัวร์ท่องเที่ยวแสวงบุญ 4 สังเวชนียสถานและหลังจากนี้สนามบินก็จะงดให้บริการนำเที่ยวจากมาตรการโควิด คืนนี้จึงมีเพียงแค่คณะของเรา 10 คน เข้าพักเท่านั้น
|
อาหารที่วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย |
เช้าวันรุ่งขึ้นย่างเข้าสู่วันที่ 3 ของโปรแกรมทัวร์อินเดีย คณะของเราก็ตื่นกันแต่เช้ามืดก่อนสว่าง มาทานข้าวต้มอาหารเช้าด้วยกันตั้งแต่ 06.00 น. เพื่อเตรียมเดินทางสู่กรุงราชคฤห์ เมืองของพระเจ้าพิมพิสาร และไปเขาคิชกูฏกัน ระยะทางจากพุทธคยาถึงกรุงราชคฤห์ประมาณ 70 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมงเศษ คณะของเราออกเดินทางเร็วก็จะได้เที่ยวเยอะ
|
วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา อินเดีย |
ทั้งนี้คณะของเราก็ต้องขอบคุณวัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ทำอาหารอร่อยๆ ให้กิน ได้มีที่นอนที่สบาย ส่วนค่าบริการของทางวัดก็แล้วแต่ผู้เดินทางไปแสวงบุญจะทำบุญตามกำลังศรัทธา จะให้มากหรือให้น้อยไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะทางวัดก็ทำขึ้นมาเพื่อตั้งใจอำนวยความสะดวกแก่คนไทยที่เดินทางไปแสวงบุญอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าถ้าเราทำบุญตามสมควรหน่อยทางวัดก็จะได้มีกำลังบริการที่ดีขึ้นแก่รุ่นน้องที่เดินทางตามหลังคณะของเราไปทำบุญที่พุทธคยาต่อไป ก็จะได้เป็นบุญเป็นกุศลให้ทุกคนได้มีจิตที่อิ่มเอิบ มีความสุขกายสบายใจในการเดินทางไปตามรอยพระพุทธเจ้าที่ประเทศอินเดีย ซึ่งไม่ได้มีดีเฉพาะแค่ที่เราได้เที่ยวต่างประเทศ แต่เราจะได้รู้และเข้าใจพุทธประวัติและอาจจะเข้าถึงแก่นแท้หลักธรรมของพระพุทธเจ้ามากยิ่งขึ้น
สนใจไปแสวงบุญและต้องการพักที่วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ (+91)8084771747 (ประเทศอินเดีย) Line ID : thaimagadh1898
|
ขึ้นเขาคิชกูฏ กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย |
ติดตามตอนต่อไป เดินทางสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อขึ้นเขาคิชกูฏนะครับ
ติดตามอ่านบทความทั้งหมดใน ประสบการณ์เดินทางไปแสวงบุญ 4 สังเวชนียสถาน 8 วัน ในประเทศอินเดียและเนปาล ได้ที่ www.rkatour.com
สนใจเดินทางไปทัวร์แสวงบุญ 4 สังเวชนียสถาน สักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพระพุทธศาสนา สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน รวมถึงสถานที่สำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งพุทธกาล สอบถามรายละเอียดการเดินทางได้ที่ โทร. 084-625-9929
เขียนโดย ศักดิ์เพ็ชร เรืองแพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น